การเปลี่ยนแปลงของอุปทาน และศึกษาไปเพื่ออะไร
อุปทาน คือ ความต้องการขายสินค้าและบริการ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยกฎของอุปทานคือ เมื่อราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นจะมีผลทำให้ปริมาณความต้องการขายสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้น แต่ถ้าหากราคาสินค้าและบริการต่ำลง จะมีผลทำให้ปริมาณความต้องการขายสินค้าและบริการต่ำลงด้วย
แต่การเปลี่ยนแปลงราคาของสินค้าเป็นจะมีผลต่อการเพิ่มลดของปริมาณ บนเส้นอุปทานเส้นเดิมเท่านั้น จะไม่มีผลทำให้อุปทานเพิ่มขึ้นหรือลดลง หรือทำให้เส้นอุปทานเคลื่อนที่
ตัวอย่างการเพิ่มลดปริมาณการความต้องการขายบนเส้นอุปทานเดิม
กราฟเส้นอุปทานแส้นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณบนเส้นอุปทานเดิม

จากกราฟด้านบนจะเห็นว่า เมื่อราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้ปริมาณความต้องการขายเพิ่มขึ้นด้วย แต่เมื่อราคาสินค้าและบริการลดลงจะทำให้ปริมาณความต้องการขายลดลงด้วย
ส่วนปัจจัยที่มีผลทำให้อุปทานเพิ่มลด หรือทำให้เส้นอุปทานเคลื่อนที่นั้น มีดังนี้
- ราคาของทรัพยากรการผลิต
- เทคโนโลยีการผลิต
- จำนวนหน่วยผลิต
- นโยบายรัฐบาล
- สถานการณ์ทางการเมืองและสภาวะอากาศ
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของอุปทาน

จากกราฟด้านบนเป็นการแสดงการเพิ่มขึ้น-ลดลงของอุปทานหรือการเคลื่อนที่ของเส้นอุปทาน หากอุปทานเพิ่มขึ้นจะทำให้เส้นอุปทานเคลื่อนที่ไปทางขวา และหากอุปทานลดลงจะทำให้เส้นอุปทานเคลื่อนที่ไปทางซ้าย แต่การที่อุปทานจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นจะขึ้นอยู่กับปัจจัยเกิดขึ้นในทางบวกหรือทางลบ ทางเกิดขึ้นในแง่บวกจะมีผลทำให้อุปทานเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเกิดขึ้นในแง่ลบจะทำให้อุปทานลดลง เช่น หากราคาของทรัพยากรการผลิตเพิ่มขึ้นอุปทานจะลดลง เพราะว่าทรัพยากรการผลิตราคาสูงขึ้นจะทำให้ผู้ผลิตมีต้นทูนสูงขึ้น และมีกำไรต่ำลงจึงลดกำลังการผลิตลง ซึ่งมีผลทำให้อุปทานลดลงเป็นต้น
ประโยชน์จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอุปทาน
หากคุณเป็นผู้ผลิตแล้วศึกษากฎของอุปทานคุณสามารถปรับกลยุทธ์การผลิตได้ เช่นหากคุณรู้ว่าช่วงนี้อุปทานในตลาดสูง คูณอาจจะลดกำลังการผลิตเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายรอจังหวะที่อุปทานในตลาดมีน้อยคุณจึงเพิ่มกำลังการผลิต และนำออกมาจำหน่ายจะได้กำไรมากกว่าเป็นต้น
อุปทาน คือ ความต้องการขายสินค้าและบริการ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยกฎของอุปทานคือ เมื่อราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นจะมีผลทำให้ปริมาณความต้องการขายสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้น แต่ถ้าหากราคาสินค้าและบริการต่ำลง จะมีผลทำให้ปริมาณความต้องการขายสินค้าและบริการต่ำลงด้วย
แต่การเปลี่ยนแปลงราคาของสินค้าเป็นจะมีผลต่อการเพิ่มลดของปริมาณ บนเส้นอุปทานเส้นเดิมเท่านั้น จะไม่มีผลทำให้อุปทานเพิ่มขึ้นหรือลดลง หรือทำให้เส้นอุปทานเคลื่อนที่
ตัวอย่างการเพิ่มลดปริมาณการความต้องการขายบนเส้นอุปทานเดิม
กราฟเส้นอุปทานแส้นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณบนเส้นอุปทานเดิม

จากกราฟด้านบนจะเห็นว่า เมื่อราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้ปริมาณความต้องการขายเพิ่มขึ้นด้วย แต่เมื่อราคาสินค้าและบริการลดลงจะทำให้ปริมาณความต้องการขายลดลงด้วย
ส่วนปัจจัยที่มีผลทำให้อุปทานเพิ่มลด หรือทำให้เส้นอุปทานเคลื่อนที่นั้น มีดังนี้
- ราคาของทรัพยากรการผลิต
- เทคโนโลยีการผลิต
- จำนวนหน่วยผลิต
- นโยบายรัฐบาล
- สถานการณ์ทางการเมืองและสภาวะอากาศ
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของอุปทาน

จากกราฟด้านบนเป็นการแสดงการเพิ่มขึ้น-ลดลงของอุปทานหรือการเคลื่อนที่ของเส้นอุปทาน หากอุปทานเพิ่มขึ้นจะทำให้เส้นอุปทานเคลื่อนที่ไปทางขวา และหากอุปทานลดลงจะทำให้เส้นอุปทานเคลื่อนที่ไปทางซ้าย แต่การที่อุปทานจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นจะขึ้นอยู่กับปัจจัยเกิดขึ้นในทางบวกหรือทางลบ ทางเกิดขึ้นในแง่บวกจะมีผลทำให้อุปทานเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเกิดขึ้นในแง่ลบจะทำให้อุปทานลดลง เช่น หากราคาของทรัพยากรการผลิตเพิ่มขึ้นอุปทานจะลดลง เพราะว่าทรัพยากรการผลิตราคาสูงขึ้นจะทำให้ผู้ผลิตมีต้นทูนสูงขึ้น และมีกำไรต่ำลงจึงลดกำลังการผลิตลง ซึ่งมีผลทำให้อุปทานลดลงเป็นต้น
ประโยชน์จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอุปทาน
หากคุณเป็นผู้ผลิตแล้วศึกษากฎของอุปทานคุณสามารถปรับกลยุทธ์การผลิตได้ เช่นหากคุณรู้ว่าช่วงนี้อุปทานในตลาดสูง คูณอาจจะลดกำลังการผลิตเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายรอจังหวะที่อุปทานในตลาดมีน้อยคุณจึงเพิ่มกำลังการผลิต และนำออกมาจำหน่ายจะได้กำไรมากกว่าเป็นต้น