การเพิ่มขึ้นและลดลงของอุปสงค์ และมีประโยชน์อย่างไร
อุปสงค์ คือความต้องการซื้อสินค้าและบริการ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีกฎุอุปสงค์ว่า เมื่อราคาของสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ปริมาณความต้องการซื้อจะลดลง และถ้าหากราคาของสินค้าและบริการลดลง ปริมาณความต้องการซื้อจะเพิ่มขึ้น
แต่การเปลี่ยนแปลงของราคานั้นจะไม่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นและลดลงของอุปสงค์ จะเป็นเพียงการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของปริมาณความต้องการซื้อบนเส้นอุปสงค์เส้นเดิมเท่านั้น ตามรูปด้านล่าง

จากรูปด้านบน เป็นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณจะเห็นได้ว่าเมื่อราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ปริมาณความต้องการซื้อก็จะลดลง แต่ถ้าหากราคาสินค้าและบริการลดลง ปริมาณความต้องการซื้อจะเพิ่มขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการนั้นจะมีผลทำให้ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการเปลี่ยนแปลงบนเส้นอุปสงค์เส้นเดิมเท่านั้น ไม่ได้มีผลทำให้เส้นอุปสงค์เคลื่อนที่ หรือไม่ได้มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอุปสงค์ เป็นการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของปริมาณเท่านั้น
ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มและลดลงของเส้นอุปสงค์ หรือปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของเส้นอุปสงค์นั้นจะมีดังนี้
- การเปลี่ยนแปลงรายได้ของผู้บริโภค
- การเปลี่ยนแปลงจำนวนของผู้บริโภค
- การเปลี่ยนแปลงราคาของสินค้าที่เกี่ยวข้อง
- การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากร
- รสนิยมและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
ส่วนการเพิ่มขึ้นและลด ของอุปสงค์นั้นจะขึ้นอยู่กับว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นเปลี่ยนไปในทางบวกหรือทางลบ เช่น
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของเส้นอุปสงค์

จากภาพเป็นกราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงของเส้นอุปสงค์ โดยเส้นสีดำคือเส้นอุปสงค์เดิม และเมื่อเวลาผ่านไปรัฐบาลได้ประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมีผลทำให้ผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้อุปสงค์เพิ่มขึ้นโดยเส้นอุปสงค์จะเลื่อนไปทางขวาซึ่งก็คือเส้นสีเขียว แต่ถ้าหากเศรษฐกิจตกต่ำทำให้ผู้บริโภคว่างงานจะมีผลทำให้ผู้บริโภคขาดรายได้ทำให้อุปสงค์ลดน้อยลงมีผลทำให้เส้นอุปสงค์เคลื่อนที่ไปทางด้านซ้ายซึ่งก็คือเส้นสีแดง
ในปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นและลดลงของอุปสงค์ก็จะเป็นเหมือนกับตัวอย่าง ด้านบนหากเกิดในแง่บวกอุปสงค์จะเพิ่มขึ้นเส้นจะเคลื่อนที่ไปทางขวาแต่ถ้าหากเกิดในแง่ลบ อุปสงค์จะลดลง และเส้นอุปสงค์จะเคลื่อนที่ไปทางซ้าย
ประโยชน์ของการศึกษาเรื่องการเพิ่มขึ้นและลดลงของอุปสงค์
ผู้ประกอบการสารถมองหาโอกาสในการทำกำไรโดยการเพิ่มกำลังการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด หากทราบว่าอุปสงค์ของตลาดกำลังจะเพิ่มขึ้น
ผู้ประกอบการสามารถลดกำลังการผลิตหากทราบว่าอุปสงค์กำลังจะลดลง เพื่อป้องกันการขาดทุน และสินค้าและบริการค้างสต็อค
อุปสงค์ คือความต้องการซื้อสินค้าและบริการ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีกฎุอุปสงค์ว่า เมื่อราคาของสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ปริมาณความต้องการซื้อจะลดลง และถ้าหากราคาของสินค้าและบริการลดลง ปริมาณความต้องการซื้อจะเพิ่มขึ้น
แต่การเปลี่ยนแปลงของราคานั้นจะไม่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นและลดลงของอุปสงค์ จะเป็นเพียงการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของปริมาณความต้องการซื้อบนเส้นอุปสงค์เส้นเดิมเท่านั้น ตามรูปด้านล่าง
รูปแสดงการเปลี่ยนแปลงของราคาและปริมาณบนเส้นอุปสงค์

จากรูปด้านบน เป็นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณจะเห็นได้ว่าเมื่อราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ปริมาณความต้องการซื้อก็จะลดลง แต่ถ้าหากราคาสินค้าและบริการลดลง ปริมาณความต้องการซื้อจะเพิ่มขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการนั้นจะมีผลทำให้ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการเปลี่ยนแปลงบนเส้นอุปสงค์เส้นเดิมเท่านั้น ไม่ได้มีผลทำให้เส้นอุปสงค์เคลื่อนที่ หรือไม่ได้มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอุปสงค์ เป็นการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของปริมาณเท่านั้น
ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มและลดลงของเส้นอุปสงค์ หรือปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของเส้นอุปสงค์นั้นจะมีดังนี้
- การเปลี่ยนแปลงรายได้ของผู้บริโภค
- การเปลี่ยนแปลงจำนวนของผู้บริโภค
- การเปลี่ยนแปลงราคาของสินค้าที่เกี่ยวข้อง
- การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากร
- รสนิยมและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
ส่วนการเพิ่มขึ้นและลด ของอุปสงค์นั้นจะขึ้นอยู่กับว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นเปลี่ยนไปในทางบวกหรือทางลบ เช่น
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของเส้นอุปสงค์

จากภาพเป็นกราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงของเส้นอุปสงค์ โดยเส้นสีดำคือเส้นอุปสงค์เดิม และเมื่อเวลาผ่านไปรัฐบาลได้ประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมีผลทำให้ผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้อุปสงค์เพิ่มขึ้นโดยเส้นอุปสงค์จะเลื่อนไปทางขวาซึ่งก็คือเส้นสีเขียว แต่ถ้าหากเศรษฐกิจตกต่ำทำให้ผู้บริโภคว่างงานจะมีผลทำให้ผู้บริโภคขาดรายได้ทำให้อุปสงค์ลดน้อยลงมีผลทำให้เส้นอุปสงค์เคลื่อนที่ไปทางด้านซ้ายซึ่งก็คือเส้นสีแดง
ในปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นและลดลงของอุปสงค์ก็จะเป็นเหมือนกับตัวอย่าง ด้านบนหากเกิดในแง่บวกอุปสงค์จะเพิ่มขึ้นเส้นจะเคลื่อนที่ไปทางขวาแต่ถ้าหากเกิดในแง่ลบ อุปสงค์จะลดลง และเส้นอุปสงค์จะเคลื่อนที่ไปทางซ้าย
ประโยชน์ของการศึกษาเรื่องการเพิ่มขึ้นและลดลงของอุปสงค์
ผู้ประกอบการสารถมองหาโอกาสในการทำกำไรโดยการเพิ่มกำลังการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด หากทราบว่าอุปสงค์ของตลาดกำลังจะเพิ่มขึ้น
ผู้ประกอบการสามารถลดกำลังการผลิตหากทราบว่าอุปสงค์กำลังจะลดลง เพื่อป้องกันการขาดทุน และสินค้าและบริการค้างสต็อค